Jun 12, 2019

|

by: arun

|

Categories: Branding

Logo ทำเองได้ไหม? : 5 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับการทำโลโก้

logo3

Logo ทำเองได้ไหม? : 5 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับการทำโลโก้

จุดประสงค์ของโลโก้ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ภายนอกที่สะดุดตา แต่ต้องถูกสร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารที่ชัดเจนถึงตัวตนของแบรนด์อีกด้วย การสร้างโลโก้ จึงเป็นงานที้ต้องใช้ความใส่ใจ และทุ่มเท ในทุกขั้นตอน เพื่อให้ง่ายขึ้นสำหรับคุณ วันนี้เราจะมาแนะนำ 5 ขั้นตอนง่ายๆในการเริ่มทำโลโก้ด้วยดัวเอง

1. สำรวจตลาด

ลองดูว่าในธุรกิจเดียวกันกับคุณหรือคู่แข่งของคุณมีการทำโลโก้ในรูปแบบไหน ยิ่งละเอียดยิ่งเป็นผลดีต่อการสร้างโลโก้ของคุณ เพราะการศึกษาโลโก้ของสินค้าในตลาดเดียวกันนั้น ทำให้คุณเข้าใจตลาดได้มากขึ้น รู้ว่าต้องให้ความสำคัญกับอะไร และไม่ควรทำอะไร เมื่อทำการสำรวจเสร็จสิ้น ให้คุณรวบรวม และจัดกลุ่มโลโก้ที่มีความคล้ายคลึงกัน เพื่อให้คุณเข้าใจ และเห็นว่า “อะไร” จะทำให้โลโก้ของคุณแตกต่าง

2. ค้นหาแรงบันดาลใจ

อย่าให้การค้นหาแรงบันดาลใจ ถูกหยุดไว้กับการการดูโลโก้ของคนอื่นเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว ทุกสิ่งสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คุณได้ เคล็ดลับคือ คิดถึงสิ่งที่คุณต้องการทำให้มากที่สุด แล้วคุณจะเห็นสิ่งที่คุณต้องการ เช่น สีของรถที่ผ่านไปมา อาจมีสักคันที่คุณโดนใจจนต้องถ่ายรูปเก็บไว้ หรือถ้อยคำแปลกๆที่คุณเห็นบนป้ายโฆษณา แปลงสิ่งเหล่านี้ให้มันกลายเป็นวัตถุดิบในการทำงานของคุณ

3. สร้างความแตกต่าง

เมื่อคุณมีวัตถุดิบที่พร้อมนำมาใช้ในการทำงานแล้ว ขั้นตอนสำคัญต่อมา คือการคิดถึงความแตกต่าง คุณอาจจะแค่เอาสิ่งที่เห็นมารวมเข้าเป็นโลโก้ก็ได้ แต่ไหนหละความเป็นตัวตนของคุณ? ความเป็นเอกลักษณ์จะทำให้คุณโดดเด่นจากคู่แข่ง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่คุณต้องไม่ลืมใส่เข้าไปในโลโก้ของคุณด้วย โลโก้ควรแสดงออกถึงสิ่งที่แบรนด์ของคุณเป็น และสิ่งที่ทำให้แบรนด์ของคุณแตกต่าง หากยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ลองดูชุดคำถามง่ายๆด้านล่าง อาจทำให้คุณมองเห็นแบรนด์ของคุณได้ชัดเจนขึ้น

    • อะไรที่ทำให้แบรนด์ของคุณเหนือกว่าแบรนด์อื่นในตลาด?
    • อะไรคือจุดแข็งที่สุดของแบรนด์คุณ?
    • คำชื่นชมที่ดีที่สุดที่เคยได้รับจากลูกค้าคือ?
    • ถ้าต้องอธิบายแบรนด์ของคุณด้วยคำ 3 คำ คำนั้นจะเป็นคำว่าอะไรบ้าง?
    • คุณชอบอะไรที่สุดในการทำแบรนด์ของคุณ?
    • ความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจที่สุดของแบรนด์คืออะไร?

ยิ่งตอบคำถามเหล่านี้ได้ละเอียดมากเท่าไหร่ ยิ่งจะสร้างความชัดเจนให้กับแบรนด์ของคุณ อย่าลืมว่าคุณต้องการจะสื่อสารอะไร และ อย่าลืมว่า โลโก้ คือสิ่งที่ผู้คนจะใช้เป็นภาพจำ เมื่อพวกเขานึกถึงแบรนด์ของคุณ

4. เข้าใจส่วนประกอบของโลโก้

เพราะทุกส่วนของโลโก้นั้น ต้องถูกใช้เพื่อแสดงออกถึงตัวตนของคุณให้มากที่สุด ส่วนประกอบของโลโก้นั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ก่อนจะเริ่มลงมือสร้าง คุณจะต้องแน่ใจว่าคุณเข้าใจส่วนประกอบเหล่านี้เสียก่อน

  • Logo Style กำหนดสไตล์ให้แบรนด์ของคุณ สิ่งสำคัญของขั้นตอนนี้คือ สไตล์ที่คุณเลือกใช้จะต้องเข้ากันได้กับสไตล์ของแบรนด์ด้วย หากยังนึกไม่ออกเรามีตัวอย่างที่น่าสนใจมาให้คุณได้เลือกใช้

Symbol คือโลโก้ที่เลือกใช้สัญลักษณ์เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีข้อความ

bodylogo1

Wordmark โลโก้ที่นำชื่อแบรนด์มาใช้ โดยอาศัยความแตกต่างของ Font เป็นจุดสนใจ

bodylogo2

Wordmark โลโก้ที่นำชื่อแบรนด์มาใช้ โดยอาศัยความแตกต่างของ Font เป็นจุดสนใจ

bodylogo3

Combination Mark คือโลโก้ที่ใช้ทั้งรูปสัญลักษณ์ และ ชื่อแบรนด์ (เป็นการผสมกันของรูปแบบ Symbol และ Wordmark)

bodylogo4

Emblem คือการนำชื่อ หรือตัวอักษรหนึ่งของชื่อแบรนด์ มาสร้างโลโก้ในลักษณะของตราประทับ

bodylogo5
  • Color Palette การเลือกใช้สี หยุดความคิดที่จะใช้สีจำนวนมากไว้ก่อน เพราะกฏในการสร้างโลโก้ที่ดีคือการเลือกใช้สีไม่เกิน 4 หรือน้อยกว่า นั่นเพราะ สีมีความสำคัญมากต่อการจดจำ นอกจากนั้นสียังถูกเชื่อมโยงกับความรู้สึกที่ต่างกันออกไปอีกด้วย หากคุณใช้สีสันที่มากเกินไปในโลโก้ของคุณ อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในตัวตนของแบรนด์ได้

bodycolor
  • Graphics มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากคุณไม่ต้องการใส่กราฟฟิคในโลโก้ แต่นั้นเป็นสิ่งที่คุณต้องตัดสินใจก่อนเริ่มลงมือ เพราะคุณต้องใช้เวลากับมันมากกว่าส่วนอื่นๆ ดังนั้น หากไม่อยากเสียเวลากับการออกแบบที่สุดท้ายจะไม่ถูกนำไปใช้แล้วละก็ ตัดสินใจซ๊ะ ก่อนเริ่มลงมือ

bodygraphic
  • Typography คือตัวอักษรที่คุณจะใช้ในโลโก้ของคุณ ซึ่งหากต้องใส่ คุณควรมีตัวอักษรที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณเลือกที่จะไม่ใช้กราฟฟิค หรือสัญลักษณ์อื่นๆช่วย ตัวอักษรของคุณจะต้องรับบทหลักในการสร้างความแตกต่างให้กับโลโก้ การใช้ตัวอักษรแบบสำเร็จรูปอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก

bodytypo

5. สร้างโลโก้ออกมาในหลายรูปแบบ

เราไม่ได้พูดถึงการทำโลโก้สีสัน หรือรูปแบบที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เรากำลังพูดถึงการนำโลโก้ของคุณไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นในรูปแบบแนวนอน แนวตั้ง รูปวงกลม หรือสี่เหลี่ยม และคุณต้องพิจารณาไม่ให้โลโก้ของคุณสูญเสียเอกลักษณ์ไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหนก็ตาม ไดังนั้น เมื่อได้โลโก้ที่คุณต้องการแล้ว ออกแบบให้โลโก้ของคุณพร้อมรับทุกการใช้งาน อย่าปล่อยให้ “ความไม่พร้อม” ของโลโก้ทำให้คุณเสียโอกาสในอนาคต