Logo ทำเองได้ไหม? : 5 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับการทำโลโก้
Logo ทำเองได้ไหม? : 5 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับการทำโลโก้
จุดประสงค์ของโลโก้ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ภายนอกที่สะดุดตา แต่ต้องถูกสร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารที่ชัดเจนถึงตัวตนของแบรนด์อีกด้วย การสร้างโลโก้ จึงเป็นงานที้ต้องใช้ความใส่ใจ และทุ่มเท ในทุกขั้นตอน เพื่อให้ง่ายขึ้นสำหรับคุณ วันนี้เราจะมาแนะนำ 5 ขั้นตอนง่ายๆในการเริ่มทำโลโก้ด้วยดัวเอง
1. สำรวจตลาด
ลองดูว่าในธุรกิจเดียวกันกับคุณหรือคู่แข่งของคุณมีการทำโลโก้ในรูปแบบไหน ยิ่งละเอียดยิ่งเป็นผลดีต่อการสร้างโลโก้ของคุณ เพราะการศึกษาโลโก้ของสินค้าในตลาดเดียวกันนั้น ทำให้คุณเข้าใจตลาดได้มากขึ้น รู้ว่าต้องให้ความสำคัญกับอะไร และไม่ควรทำอะไร เมื่อทำการสำรวจเสร็จสิ้น ให้คุณรวบรวม และจัดกลุ่มโลโก้ที่มีความคล้ายคลึงกัน เพื่อให้คุณเข้าใจ และเห็นว่า “อะไร” จะทำให้โลโก้ของคุณแตกต่าง
2. ค้นหาแรงบันดาลใจ
อย่าให้การค้นหาแรงบันดาลใจ ถูกหยุดไว้กับการการดูโลโก้ของคนอื่นเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว ทุกสิ่งสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คุณได้ เคล็ดลับคือ คิดถึงสิ่งที่คุณต้องการทำให้มากที่สุด แล้วคุณจะเห็นสิ่งที่คุณต้องการ เช่น สีของรถที่ผ่านไปมา อาจมีสักคันที่คุณโดนใจจนต้องถ่ายรูปเก็บไว้ หรือถ้อยคำแปลกๆที่คุณเห็นบนป้ายโฆษณา แปลงสิ่งเหล่านี้ให้มันกลายเป็นวัตถุดิบในการทำงานของคุณ
3. สร้างความแตกต่าง
เมื่อคุณมีวัตถุดิบที่พร้อมนำมาใช้ในการทำงานแล้ว ขั้นตอนสำคัญต่อมา คือการคิดถึงความแตกต่าง คุณอาจจะแค่เอาสิ่งที่เห็นมารวมเข้าเป็นโลโก้ก็ได้ แต่ไหนหละความเป็นตัวตนของคุณ? ความเป็นเอกลักษณ์จะทำให้คุณโดดเด่นจากคู่แข่ง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่คุณต้องไม่ลืมใส่เข้าไปในโลโก้ของคุณด้วย โลโก้ควรแสดงออกถึงสิ่งที่แบรนด์ของคุณเป็น และสิ่งที่ทำให้แบรนด์ของคุณแตกต่าง หากยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ลองดูชุดคำถามง่ายๆด้านล่าง อาจทำให้คุณมองเห็นแบรนด์ของคุณได้ชัดเจนขึ้น
-
- อะไรที่ทำให้แบรนด์ของคุณเหนือกว่าแบรนด์อื่นในตลาด?
- อะไรคือจุดแข็งที่สุดของแบรนด์คุณ?
- คำชื่นชมที่ดีที่สุดที่เคยได้รับจากลูกค้าคือ?
- ถ้าต้องอธิบายแบรนด์ของคุณด้วยคำ 3 คำ คำนั้นจะเป็นคำว่าอะไรบ้าง?
- คุณชอบอะไรที่สุดในการทำแบรนด์ของคุณ?
- ความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจที่สุดของแบรนด์คืออะไร?
ยิ่งตอบคำถามเหล่านี้ได้ละเอียดมากเท่าไหร่ ยิ่งจะสร้างความชัดเจนให้กับแบรนด์ของคุณ อย่าลืมว่าคุณต้องการจะสื่อสารอะไร และ อย่าลืมว่า โลโก้ คือสิ่งที่ผู้คนจะใช้เป็นภาพจำ เมื่อพวกเขานึกถึงแบรนด์ของคุณ
4. เข้าใจส่วนประกอบของโลโก้
เพราะทุกส่วนของโลโก้นั้น ต้องถูกใช้เพื่อแสดงออกถึงตัวตนของคุณให้มากที่สุด ส่วนประกอบของโลโก้นั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ก่อนจะเริ่มลงมือสร้าง คุณจะต้องแน่ใจว่าคุณเข้าใจส่วนประกอบเหล่านี้เสียก่อน
-
Logo Style กำหนดสไตล์ให้แบรนด์ของคุณ สิ่งสำคัญของขั้นตอนนี้คือ สไตล์ที่คุณเลือกใช้จะต้องเข้ากันได้กับสไตล์ของแบรนด์ด้วย หากยังนึกไม่ออกเรามีตัวอย่างที่น่าสนใจมาให้คุณได้เลือกใช้
Symbol คือโลโก้ที่เลือกใช้สัญลักษณ์เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีข้อความ
Wordmark โลโก้ที่นำชื่อแบรนด์มาใช้ โดยอาศัยความแตกต่างของ Font เป็นจุดสนใจ
Wordmark โลโก้ที่นำชื่อแบรนด์มาใช้ โดยอาศัยความแตกต่างของ Font เป็นจุดสนใจ
Combination Mark คือโลโก้ที่ใช้ทั้งรูปสัญลักษณ์ และ ชื่อแบรนด์ (เป็นการผสมกันของรูปแบบ Symbol และ Wordmark)
Emblem คือการนำชื่อ หรือตัวอักษรหนึ่งของชื่อแบรนด์ มาสร้างโลโก้ในลักษณะของตราประทับ
-
Color Palette การเลือกใช้สี หยุดความคิดที่จะใช้สีจำนวนมากไว้ก่อน เพราะกฏในการสร้างโลโก้ที่ดีคือการเลือกใช้สีไม่เกิน 4 หรือน้อยกว่า นั่นเพราะ สีมีความสำคัญมากต่อการจดจำ นอกจากนั้นสียังถูกเชื่อมโยงกับความรู้สึกที่ต่างกันออกไปอีกด้วย หากคุณใช้สีสันที่มากเกินไปในโลโก้ของคุณ อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในตัวตนของแบรนด์ได้
-
Graphics มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากคุณไม่ต้องการใส่กราฟฟิคในโลโก้ แต่นั้นเป็นสิ่งที่คุณต้องตัดสินใจก่อนเริ่มลงมือ เพราะคุณต้องใช้เวลากับมันมากกว่าส่วนอื่นๆ ดังนั้น หากไม่อยากเสียเวลากับการออกแบบที่สุดท้ายจะไม่ถูกนำไปใช้แล้วละก็ ตัดสินใจซ๊ะ ก่อนเริ่มลงมือ
-
Typography คือตัวอักษรที่คุณจะใช้ในโลโก้ของคุณ ซึ่งหากต้องใส่ คุณควรมีตัวอักษรที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณเลือกที่จะไม่ใช้กราฟฟิค หรือสัญลักษณ์อื่นๆช่วย ตัวอักษรของคุณจะต้องรับบทหลักในการสร้างความแตกต่างให้กับโลโก้ การใช้ตัวอักษรแบบสำเร็จรูปอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
5. สร้างโลโก้ออกมาในหลายรูปแบบ
เราไม่ได้พูดถึงการทำโลโก้สีสัน หรือรูปแบบที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เรากำลังพูดถึงการนำโลโก้ของคุณไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นในรูปแบบแนวนอน แนวตั้ง รูปวงกลม หรือสี่เหลี่ยม และคุณต้องพิจารณาไม่ให้โลโก้ของคุณสูญเสียเอกลักษณ์ไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหนก็ตาม ไดังนั้น เมื่อได้โลโก้ที่คุณต้องการแล้ว ออกแบบให้โลโก้ของคุณพร้อมรับทุกการใช้งาน อย่าปล่อยให้ “ความไม่พร้อม” ของโลโก้ทำให้คุณเสียโอกาสในอนาคต